Boxing-192

เสื้อกล้ามไทยพ่ายเรียบชิงแชมป์โลก ที่รัสเซีย

Boxing-192

การแข่งขันมวยสากลชายชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 20 ที่เมืองเยคาเทรินเบิร์ก ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 8-21 กันยายน 2562 ที่เพิ่งปิดฉากไปนั้น
เป็นที่ยืนยันให้เห็นชัดเจนว่า นักมวยสากลไทยนั้น “ต่ำชั้น” และ “ห่างชั้น” จากนักมวยสากลระดับโลกยุคปัจจุบัน อย่างไร้ข้อแก้ตัว

มวยสากลชายชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 20 ถือเป็นรายการใหญ่ระดับโลกอย่างเป็นทางการ รายการสุดท้ายก่อนถึงการแข่งขันมวยสากลในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 32 “โตเกียว 2020” รอบคัดเลือกทุกทวีปทั่วโลก ในต้นปีหน้าต่อไป

มวยสากลชายชิงแชมป์โลกปีนี้ มีการแข่งขัน 8 รุ่นน้ำหนักได้แก่ รุ่นฟลายเวต 52 กก., รุ่นเฟเธอร์เวต 57 กก., รุ่นไลต์เวต 63 กก., รุ่นเวลเตอร์เวต 69 กก., รุ่นมิดเดิลเวต 75 กก., รุ่นไลต์เฮฟวี่เวต 81 กก., รุ่นเฮฟวี่เวต 91 กก. และรุ่นซุปเปอร์เฮฟวี่เวต 91 กก.ขึ้นไป

มวยสากลชายชิงแชมป์โลกปีนี้ มีนักมวย 456 คน จาก 78 ชาติทั่วโลกเข้าแข่งขัน โดยทวีปเอเชีย มี 21 ชาติส่งนักมวยรวม 107 คน เข้าแข่งขัน เฉพาะไทยนั้น ส่งเพียง 4 คน และปรากฏผลดังนี้

รุ่นฟลายเวต 52 กก. วุฒิชัย ยุระชัย ตกรอบแรก แพ้คะแนน รามอน มิคานอร์ กุยโรก้า (อาร์เจนตินา) ขาดลอย 0-5

รุ่นเฟเธอร์เวต 57 กก. ฉัตร์ชัยเดชา บุตรดี รอบแรก ชนะคะแนน จิลล์ มันกาดี้ (อินโดนีเซีย) 5-0 / รอบสอง ชนะคะแนน วาซิเล อุสตูรอย (เบลเยียม) 5-0 / รอบสาม แพ้คะแนน ไคราต เยราลิเยฟ (อันดับ 2 คาซัคสถาน) 2-3 ซึ่ง ฉัตร์ชัยเดชา บุตรดี เป็นนักมวยไทยที่มีผลงานดีที่สุดในรายการนี้

รุ่นเวลเตอร์เวต 63 กก. สมชาย วงศ์สุวรรณ รอบแรก ชนะคะแนน มอสเล็ม แม็กซูดี (อิหร่าน) 3-2 / รอบสอง แพ้คะแนน โฮวานเนส บาคคอฟ (อันดับ 3 อาร์เมเนีย) 1-4

รุ่นเวลเตอร์เวต 69 กก. วุฒิชัย มาสุข รอบแรก ชนะคะแนน เยาเฮอนี เดาอาลิฮาแวร์ต (เบลารุส) 4-1 / รอบสอง แพ้คะแนน อับลอสอิคฮัน ซูสซูพอฟ (อันดับ 4 คาซัคสถาน) 0-5

Boxing-193

สรุปมี 15 ชาติได้เหรียญรางวัล

อันดับ 1 อุซเบกิสถาน 3 ทอง 1 เงิน 1 ทองแดง / อันดับ 2 รัสเซีย 3-0-1 / อันดับ 3 คาซัคสถาน 1-1-4 / อันดับ 4 คิวบา 1-1-1 / อันดับ 5 อังกฤษ 0-1-2 / อันดับ 6 อินเดีย 0-1-1 / อันดับ 7 ร่วม เอกวาดอร์, ฟิลิปปินส์, สหรัฐอเมริกา 0-1-0 เท่ากัน / อันดับ 10 ร่วม อาร์เมเนีย, ออสเตรเลีย, บราซิล, บัลแกเรีย, ฝรั่งเศส, มองโกเลีย 0-0-1 เท่ากัน

สรุปมี 15 ชาติได้เหรียญรางวัล

อันดับ 1 อุซเบกิสถาน 3 ทอง 1 เงิน 1 ทองแดง / อันดับ 2 รัสเซีย 3-0-1 / อันดับ 3 คาซัคสถาน 1-1-4 / อันดับ 4 คิวบา 1-1-1 / อันดับ 5 อังกฤษ 0-1-2 / อันดับ 6 อินเดีย 0-1-1 / อันดับ 7 ร่วม เอกวาดอร์, ฟิลิปปินส์, สหรัฐอเมริกา 0-1-0 เท่ากัน / อันดับ 10 ร่วม อาร์เมเนีย, ออสเตรเลีย, บราซิล, บัลแกเรีย, ฝรั่งเศส, มองโกเลีย 0-0-1 เท่ากัน

จากอันดับเหรียญรางวัลดังกล่าว นอกจาก อุซเบกิสถาน กับ คาซัคสถาน ที่เป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่างแท้จริงของทวีปเอเชียแล้ว ยังมีอีก 3 ชาติเอเชียที่มีผลงานเกินความคาดหมายได้แก่ อินเดีย ที่มีผลงานเหรียญเงินจาก อามิต พานกัล รุ่นฟลายเวต 52 กก. และเหรียญทองแดงจาก มานีช เคาชิค รุ่นไลต์เวต 63 กก. ฟิลิปปินส์ จากผลงานเหรียญเงินของ ยูร์มี มาร์เชียล รุ่นมิดเดิลเวต 75 กก. และมองโกเลีย จากผลงานเหรียญทองแดงของ เซนด์บาตาร์ เออร์เดเนบัต รุ่นแบนตัมเวต 57 กก.

จากอันดับเหรียญรางวัลดังกล่าว นอกจาก อุซเบกิสถาน กับ คาซัคสถาน ที่เป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่างแท้จริงของทวีปเอเชียแล้ว ยังมีอีก 3 ชาติเอเชียที่มีผลงานเกินความคาดหมายได้แก่ อินเดีย ที่มีผลงานเหรียญเงินจาก อามิต พานกัล รุ่นฟลายเวต 52 กก. และเหรียญทองแดงจาก มานีช เคาชิค รุ่นไลต์เวต 63 กก. ฟิลิปปินส์ จากผลงานเหรียญเงินของ ยูร์มี มาร์เชียล รุ่นมิดเดิลเวต 75 กก. และมองโกเลีย จากผลงานเหรียญทองแดงของ เซนด์บาตาร์ เออร์เดเนบัต รุ่นแบนตัมเวต 57 กก.